วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน7

บทที่ 7

ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทาง

การศึกษา แล้วตอบคำถาม

1. พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
ตอบ  ประกาศ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้ 12 มิถุนายน 2546
2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
ตอบ   ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น
3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
ตอบ 3 ข้อ ที่สำคัญ คือ
 
1.กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฎิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ 
 2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
 3.ประสานส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
 4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. กำนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2. ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3.อกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
4.พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
5.สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
6.ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
7.รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆตามมาตรฐานวิชาชีพ  
8.รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
9.ส่งเสริมการส่งศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
10.เป้นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศ
11.ออกบังคับคุรุสภาว่าด้วย
12.ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัยหาการพัฒนาวิชาชีพ
13.ให้คำแนะนำหรือเสนอความคิดเห็นต่อรับมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
14.กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ที่คุรุสภา
15.ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
ตอบ คุรุสภามีรายได้มาจากแหล่งดังนี้
     1. ค่าทำเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
     2. เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
     3. ผลประโยชน์จากการจัดทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
     4.เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
     5. ตอบผลของเงินและทรัพยืสินตาม
6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
ตอบ 39คน ประธานซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฎหมาย
 7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
ตอบ 1.เป็นผู้มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
        2.เป็นผู้มีประสบการร์ด้านปฎิบัติการสอนมาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่าสิบหรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการขึ้นไป
8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
ตอบ พิจารณา วินิจฉัยอุธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
ตอบ17คน ประธานคือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภาพิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอน
10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
ตอบ ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์- ไม่เกิน65ปี
11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ      วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับเอกชน
12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
       2. มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
       3. ผ่านการปฎิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฎิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
ตอบ  อุธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ต่อใบอนุญาติ หรือการไม่ออกใบแทนในอนุญาตไม่ตัดสิทธิผู้ขอที่จะประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญ่ตต่อไป ทั้วนี้ จนกว่าคณะกรมการคุรุสภาจะได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด
14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
ตอบมาตรฐานความรู้และประสบการณ์/ มาตรฐานการปฎิบัติงาน/มาตรฐานการปฎิบัตืตน 
15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
ตอบ มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วย จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่ออาชีพ จรรยาบรรณต้อผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อสังคม
16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
ตอบยก/ตัก/ภาค/พัก/เพิก คือยกข้อกล่าวหา/ตักเตือน/ภาคทัณฑ์/พักใช้ใบอนุญาตไม่เกิน 5ปี/เพิกถอนใบอนุญาต   
17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
ตอบ 2 ประเภท  คือ สามัญและกิติมศักดิ์ (เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์) 2
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
ตอบ5วิธี คือ ตาย  ลาออก  คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้น ถอดถอนกิตติมศักดิ์  ถูกเพิกถอนใบอนุญาต 
19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
ตอบ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
ตอบ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือิปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ตอบ จำคุกไม่เกิน3ปี หรือ ปรับไม่เกิน60000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
ตอบ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ 2546 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ตอบ ต่อ/เเทน,รอง,นาญ,ขึ้น = 200,300,400,500บาท หมายถึง ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบเเทนใบอนุญาต 200 บาท,ใบรับรอง 300 บาท,เเสดงความชำนาญการ 400 บาท, ขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท
....................................................................................................................................................................................................................................................
       
2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
ตอบ วิชาชีพ เป็นวิชาให้บริการแก่สาธารณชนที่ีต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้ำซ้อน

กับวิชาชีพอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎี

และภาคปฎิบัติอย่างพอเพียงก่อนที่จะประกอบวิชาชีพ

2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
ตอบ วิชาชีพควบคุม เป็นวิชาชีพชั้นสูง ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูงตามมา เพราะมีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบอาชีพเป็นพิเศษ
3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
ตอบ 1.ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด  ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตจะได้รับโทษตามกฎหมาย
         2.ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพรวมทั้งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
        3.บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
มีสิทธิ กล่าวหา หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่น มีสิทธิ กล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้   
   4.เมื่อมีการกล่าวหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดกล่วโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้และผู้ถุกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้




4.มาตรฐาน วิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกาาคือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฎิบัติตามเพื่อให้เกิดคุรภาพในการประกอบวิชาชีพสามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ
พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ3ด้าน
 1.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพจึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่ีมีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้

2.มาตฐานการปฎิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฎิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดพร้อมกับมีการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง
3. มาตรฐานการปฎิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฎิบัติตน

5. ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
ตอบ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์เป้นข้อกำหนดสำหรับผู้ที่มาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป้นหลักบานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้

6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ แตกต่างกันที่ มาตรฐานการปฎิบัติงานจะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฎิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ มาตรฐานการปฎิบัติตนจะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพโดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฎิบัติ เพื่อชื่อเสียง ฐานะ เกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ



 







 
 

 

 








 

 


  







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น