วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน9


ให้นักศึกษาอ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและตอบคำถามต่อไปนี้

1.มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
ตอบ 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
.............................................................................................................................................................
2.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้
ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
เด็กพิการ เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด นักเรียน นักศึกษา
บิดามารดา ผู้ปกครอง ครอบครัวอุปถัมภ์ การเลี้ยงดูโดยมิชอบ
ทารุณกรรม สืบเสาะและพินิจ สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ
สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ 
ตอบ เด็กเป็นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า18 ปีบริบูรณ์แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อน คือเด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆหรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้า คือ เด็กที่บิดามารดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฎบิดามารดาหรือสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความยากลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเ้กินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กพิการ คือเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด้กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือหรือสถานอันชักนำไปในทางที่เสียหาย
นักเรียน หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและมัะยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
นักศึกษา หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
บิดามารดา หมายความว่า บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง
ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอันซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู้ด้วย
ครอบครัวอุปถัมภ์ หมายความว่า บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
การเลี้ยงดูโดยมิชอบ หมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน หรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกระทรง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
ทารุณกรรม หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้ให้เด็กกระทำที่น่าจะเป็นอันตรายต่อเด็กหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ก็ตาม
สืบเสาะและพินิจ หมายความว่า การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนำมาวินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา และหลักวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น
สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว และไม่รวมถึงสถานพยาบาลโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน
สถานแรกรับ หมายความว่าสถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หมายความว่าสถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัดรักษา ฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
...........................................................................................................................................................


3.คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน
ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิปดีกรมการปกครอง อธิปดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิปดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ   กรรมการทั้งหมด11คน
....................................................................................................................................................................
4.กรรมผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้าง
ตอบ คราวละ3ปี พ้นจากตำแหน่งเมื่อครบวาระอาจจะได้แต่งตั้งอีกแต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน นอกจากครบวาระแล้วยังมีเมื่อ 1.ตาย 2.ลาออก 3. รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องในหน้าที่ 4.ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษา5.เป็นบุคคลล้มละลาย 6.เป็นคนไร้ความสามารถ 7.ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
.....................................................................................................................................................................

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้
ตอบ ในอนาคตเราจะเป็นครูเเราจะต้องรู้ว่ากฎหมายได้กำหนดไว้กำเด็กแต่ละประเภทอย่างไรบ้าง และถ้าเกิดว่าในอนาคตมีเหตุการณ์อันใดขึ้นเราก็จะสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ถูกต้องตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กได้
........................................................................................................................................................

6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ 1.ไม่ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาล สถานเลี้ยงเด็กโดยมีเจตนาที่จะไม่รับคืน
       2.ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใดๆโดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแล
       3.จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของเด็กจนน่าจะเกิดอันตราย
       4.ปฎิบัติต่อเด็กในลักษณะที่ขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
       5.ปฎิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
........................................................................................................................................................
 7.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
ตอบ 1.กระทำหรืิอละเว้นการกระทำอันเป็นการทานรุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
        2.จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน
        3.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะ ให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
         4.โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแแพร่ด้วยประการใด การยกเด็กให้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการ
         5.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยอนยอม หรือกระทำประการใดเพื่อให้เด็กไปขอทาน เร่ร่อน
         6. ใช้ จ้างหรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกาย
         7.บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ยุยงให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำเพื่อแสวงหาผลกระทบทางการค้าอันเป็นการขัดต่อการเจริยเติบโตของเด็ก
         8. ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปสถานที่เล่นการพนัน
         9.บังคับ ขู่เข็ญ ช้ ชักจูง ยุยงหรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำาการลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
         10.จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก 
................................................................................................................................................................


8.เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์
ตอบ  1. เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า   2.เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพัดหลง ณ ที่ใด  3. เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใดๆ เช่นถูกจำคุก กักขัง    4.เด็กที่ผู้ปกครอบมีอาชีพไม่เหมาะสมอันส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก   5.เด็กที่ได้รับเลฃี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกหทารุณ  6. เด็กพิการ7. เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก 8. เด็กที่อยู่ในสภาพที่ต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
.....................................................................................................................................................................

9.เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
ตอบ  1.เด็กที่ถูกทารุณกรรม
         2.เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
         3.เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้่มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
......................................................................................................................................................................

10.ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวืิธีการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไร
ตอบ จะมีการอบรมเด็กและมีการแจ้งให้นักเรียนนักศึกษาเข้าใจถึงกฎหมายการคุ้มครองเด็กว่าควรปฎิบัติอย่างไรถูกต้องอย่างไรไม่ถูกต้องมีการชักจูงเด็กไปในทางที่ดีมีการตักเตือนเด็กที่ประพฤติผิดขัดต่อมาตราต่างๆของกฎหมายและต้องมีการประสานงานต่อผู้ปกครองนักเรียนต่อผู้บริหารโรงเรียน
.......................................................................................................................................................................


11.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็นอะไรบ้าง มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา26 ต้องวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา27มาตรา50ต้องวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำมีเหตุผลอันสมควร หรือให้ถ้อยคำเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ต้องจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ีงหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา 43 ต้องวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  ผู้ใดจัดตั้งกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัมนาและฟื้นฟูตามมาตรา52 โดยมิได้รับใบอนุญาตต้องวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  
................................................................................................................................................................


12.ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กฉบับ
ตอบ  พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
....................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น