วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สอบปลายภาค


สอบปลายภาค

1.กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง      ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ.
ตอบ  ต่างกันเพราะ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ กติกา หรือ มาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติตาม โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลอื่น ด้วยเหตุที่กฎหมายมีสภาพบังคับ ทำให้สมาชิกในสังคมทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย ผู้ใดจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดแตกต่างกับกฎหมายการศึกษาซึ่งจะเกี่ยวกับการศึกษาโดยตรงและเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน เช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
.......................................................................................................................................................
    2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน  รัฐต้องจัดอบรมและสนับสนุนให้เอกชนเกิดความรู้คู่คุณธรรม และให้เอกชนจัดการศึกษาและปรับปรุงให้เข้ากับเศรษฐกิจและสังคม บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เช่น  เด็กไทยทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า12ปีซึ่งทุกคนมีสิทธิเรียน และในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมในโรงเรียนจะต้องมีส่วนของผู้ปกครองเข้ามามีปฎิสัมพันธ์กับโรงเรียนด้วย
.......................................................................................................................................................
3.พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ 
ตอบ  20 มาตรา มีความสำคัญในการศึกษาของเด็กที่แต่ละฝ่ายจะต้องปฎิบัติตามที่กฎหมายได้กำหนดมา ทั้งผู้ปกครอง  ทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กระทรวงศึกษาธิการต่างๆ  และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายการศึกษาบังคับถ้าไม่ปฎิบัติจะต้องมีโทษ  มาตราที่ผู้ปกครองต้องปฎิบัติ คือมาตรา  6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเมื่อผู้ปกครองร้องขอ  ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
…………………………………………………………………………………………………...
4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ  ได้แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากคุรุสภา เนื่องจากมีความจำเป็นจริงเช่นไม่สามารถหาผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพได้จริงและผู้ที่จะขอเข้าประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี
2.. มีคุณวุฒิตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
3.มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า
(2) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ ก.ค.ศ.รับรอง ซึ่งกำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู และเป็นวุฒิปริญญาในสาขาที่สอดคล้องกับระดับชั้นที่เข้าสอน ตามที่คุรุสภากำหนด ยกเว้นโรงเรียนในพระราชดำริ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนโครงการพิเศษต่างๆ ที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด และมีคะแนนเฉลี่ย ๒.๕ ขึ้นไป โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร หรือโรงเรียนเสี่ยงภัย ตามประกาศของทางราชการ และจัดให้มีการอบรมในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนเบื้องต้นด้วย
  4.ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
.......................................................................................................................................................

5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ  จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าในเคหสถาน สถานที่ใดๆ หรือยานพาหนะใดๆในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้น ในกรณีมีเหตุอันสงสัยว่ามีการกระทำทารุณกรรมเด็กมีการกักขังหรือเลี้ยงดุโดยมิชอบ แต่ในกรรีที่มีเหตุอันเชื่อว่าหากไม่ดำเนินในทันทีเด็กอาจได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ หรือถูกนำพาไปสถานที่อื่นซึ่งยากแก่การติดตามช่วยเหลือ ก็ให้มีการอำนาจเข้าไปในภายหลังพระอาทิตย์ตกได้  ส่วนบทลงโทษคือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกิน3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
………………………………………………………………………………………………

6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2  และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  1.การทำโทษเด็กนักเรียน เช่น นักเรียนกระทำผิดร้ายแรงครูจะต้องมีการกล่าวตักเตือนนักเรียนก่อน หลังจากนั้นจะค่อยๆดำเนินการขั้นต่อไปไม่ว่าจะเป็นการทานบนหรือรายงานไปยังผู้ปกครองนักเรียนให้ทราบ
   2.การพาเด็กออกนอกสถานที่ เช่น ต้องการพาเด็กไปทัศนศึกษานอกสถานที่ก็จะต้องดำเนินการขออนุญาตโรงเรียนต้องมีการอนุมัติจากโรงเรียนและในส่วนของเด็กจะต้องมีใบขออนุญาตผู้ปกครองด้วยเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่จะตามมาในภายหลัง
...........................................................................................................................................

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป
ตอบ  ในการใช้เว็บบล็อกในการเรียนวิชานี้ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะเราสามารถรวบรวมความรู้หรือเนื้อหาต่างๆไว้ในบล็อกได้ไม่ต้องมีการใช้กระดาษหรือดินสอปากกาให้สิ้นเปลืองและเป็นสื่อที่ทันสมัย สามรถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียน และสามารถนำความรู้เรื่องการทำบล็อกไปสอนนักเรียนได้ในภายภาคหน้า
.......................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น